ประวัติผู้แต่ง
1. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ 5 กัณฑ์คือ
1. ทศพร
2. หิมพานต์
3. มหาราช
4. นครกัณฑ์
พระประวัติ
ประสูติ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ ) อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น “ท้าวทรงกันดาล” เป็นตำแหน่งผู้รักษาการคลังใน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ ) ทรงประสูติเมื่อ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ และมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชาย วาสุกรี
สำหรับพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๒๗๙ ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้เข้ารับราชการ ทรงเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการกู้บ้านเมือง จนได้เลื่อนยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และต่อมาได้ทรงสถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นใหม่และตั้งราชธานีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนี้นอกจากจะทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถแล้ว ยังทรงเป็นกวีและนักปราชญ์อีกด้วย
การศึกษา
สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงเป็นศิษย์ในสำนักสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ผู้เป็นนักปราชญ์ล้ำลึกและมั่นคงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมเจดีย์ในสมัยกรุงธนบุรี ได้รับมอบหมายให้ไปจัดการสังฆมณฑลฝ่ายเหนือที่พิษณุโลก และได้เลื่อนเป็นที่พระพิมลธรรม แต่ต้องโทษในปลายรัชกาล เนื่องจากยึดมั่นในพระธรรมวินัย ไม่โอนอ่อนผ่อนตามพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ครองวัดพระเชตุพนฯ และได้เป็นพระอาจารย์ของสามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ได้ถ่ายทอดพระธรรมวินัยและความรู้ทางด้านภาษาไทย และภาษามคธ บาลี โบราณคดี โหราศาสตร์ และเวทมนตร์ ตลอดทั้งวิธีลงเลขยันต์ต่างๆ สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้เป็นผู้อ่านประกาศเทวดา และเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎกในรัชกาลที่ ๑ นอกจากนี้ได้นิพนธ์หนังสือภาษาบาลีไว้หลายเรื่อง และมีชื่อเสียงโด่งดังในการเทศน์มหาชาติ กัณฑ์ “นครกัณฑ์” ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านก็ได้สืบทอดกันต่อๆ มาหลายรัชกาล
สามเณรพระองค์วาสกรีได้ทรงศึกษาอย่างใกล้ชิดกับพระอาจารย์ ทรงได้รับการถ่ายทอดวิทยาการไว้ทั้งหมด รวมทั้งได้รับมอบตำรับตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์ เวทมนตร์ และพระธรรมวินัยไว้ด้วยจึงทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญแตกฉาน นับได้ว่าเป็นนักปราชญ์ที่ล้ำลึกของยุคต้นรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ และได้มีการเชิญอัฐิของสมเด็จพระพนรัตน์มาบรรจุไว้ในสถูปในบริเวณตำหนักของสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส มีโคลงจารึกเป็นเกียรติไว้ว่า
สถูปเสถียรธาตุไท้ ธิบดี สงฆ์แฮ
วันรัตน์เจ้าจอมชี ชื่ออ้าง
ปรากฏเกียรติมุนี เสนอโลกย ไว้เอย
องค์อดิศวรสร้าง สืบหล้าแหล่งเฉลิม
ผนวชเป็นสามเณร
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ ในรัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังหลัง (เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์พระเจ้าหลานเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ) ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ได้มีเจ้านายตามเสด็จออกผนวชเป็นสามเณร เป็นหางนาคหลวง ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าชายวาสุกรีกับพระองค์เจ้าชายฉัตร (กรมหมื่นสุรินทรรักษ์)
ผนวชเป็นพระภิกษุ
สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ประทับจำพรรษาและศึกษาอยู่ในวัดพระเชตุพนฯ จนสิ้นรัชกาลที่ ๑ ขณะนั้นพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา ก็ไม่ทรงสึก เนื่องจากอายุยังไม่ครบผนวชเป็นพระภิกษุจึงทรงเป็นสามเณรต่อไป จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) จึงได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปีมะแม พ.ศ.๒๓๕๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “สุวัณณรังษี”เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์
พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” ทรงผนวชอยู่ได้ ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตน์อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนฯ พระองค์โปรดแต่งตั้งให้พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพนฯ
พระอิสริยยศและสมณศักดิ์
ทรงได้รับเลื่อนเป็นเจ้าต่างกรมครั้งแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เป็น “กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์”และดำรงพระยศนี้อยู่จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ )
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระบรมราชโอการประกาศเลื่อน”กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติวงศ์” ให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ณ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ (พ.ศ.๒๓๙๔) และได้เลื่อนเป็น
“กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ปฐมพันธุมหาราชวรังกูร ปรเมนทรนเรนทรสูรสัมมานาภิสักกาโรดมสถาน อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ยุตมุตวาที สุวีรมนุญ อดุลยคุณคุณาธาร มโหฬารเมตตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณ มหาสมนุตตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิ์ธำรง มหาสงฆปริณายก พุทธสาสนดิลกโลกุตตมมหาบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฎิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกยปฎิพันธ พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศร์ สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกขประธานวโรดม บรมนาถบพิตร”
พระเกียรติคุณประกาศ
ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ องค์การยูเนสโกได้มีมติรับข้อเสนอของคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๒๕ ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก
องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ และถวายพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะ ปูชนียบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ตามมติที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๕ ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และชักชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓
ผลงานด้านวรรณกรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว สมพระเกียรติที่เป็น“รัตนกวี” ของชาติ วรรณกรรมของพระองค์ นับว่าเป็นสมบัติที่ประมาณค่ามิได้ พระนิพนธ์ต่างๆ มีดังนี้
โคลง
(๑) โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
(๒) ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค
(๓) ลิลิตตะเลงพ่าย
(๔) โคลงภาพฤาษีดัดตน
(๕) โคลงภาพคนต่างภาษา
(๖) โคลงกลบท
(๗) โคลงบาทกุญชร และวิวิธมาลี
(๘) โคลงจารึกศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ ๒ หลัง
(๙) โคลงจารึกศาลาราย ๑๖ หลัง
(๑๐) ร่ายและโคลงบานแพนก
ฉันท์
(๑) กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
(๒) สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนปลาย
(๓) ตำราฉันท์มาตรพฤติและวรรณพฤติ
(๔) สรรพสิทธิคำฉันท์
(๕) ฉันท์สังเวยกล่อมวินิจฉัยเภรี
(๖) จักรทีปนีตำราโหราศาสตร์
(๗) ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างพัง
ร่ายยาว
(๑) มหาเวสสันดรชาดก (เว้นกัณฑ์ชูชกและมหาพน)
(๒) ปฐมสมโพธิกถา
(๓) ทำขวัญนาคหลวง
(๔) ประกาศบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๔
กลอน
(๑) เพลงยาวเจ้าพระความเรียง
(๑) พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป
(๒) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับความสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
เล่ม ๑–๒
ภาษาบาลี
(๑) ปฐมสมโพธิกถาฉบับภาษาบาลี มีต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นพระคัมภีร์ใบลานจำนวน ๓๐ ผูก ผูกละประมาณ ๒๔ หน้า เมื่อปริวรรตเป็นอักษรไทยและแปลออกมาแล้วจะเป็นหนังสือหนาประมาณ ๒,๑๖๐ หน้า หรือประมาณ ๒๗๐ ยก ซึ่งเป็นหนังสือพระพุทธประวัติฉบับที่มีขนาดหนาที่สุดในโลก2. พระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ 3 กัณฑ์ คือ
1. วนปเวสนื
2. จุลพน
3. สักบรรพ
พระราชประวัติ
ขณะทรงพระเยาว์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่"
พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฏ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งพ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่ รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด) เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร" ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย
ทรงผนวช
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ทรงผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้างสำคัญของบ้านเมือง ได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเพียงพระองค์เดียวที่ยังมีพระชนม์เกิดสิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธีทรงผนวชอย่างใหญ่โต โปรดให้มีเพียงพิธีอย่างย่อเท่านั้น โดยให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า "วชิรญาโณ" หรือ "วชิรญาณภิกขุ" แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้น จึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อทรงผนวช
ในขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ทรงผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวช เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน
คณะธรรมยุติกนิกาย หลังจากการลาผนวชของพระวชิรญาณเถระยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะได้พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีผู้นำที่เข้มแข็งคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้ครองบังคับบัญชาคณะธรรมยุติกนิกาย
ครองราชย์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า
"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "
3.เจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) นิพนธ์ 2 กัณฑ์ คือ
1. กุมาร
2. มัทรี
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2348 ประวัติอื่นๆ มีปรากฏน้อยเต็มที นอกเสียจากผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน
ประวัติ
เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ 2, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ 2, เกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นนายสกุล บุญ-หลง
รับราชการ
มีหลักฐานระบุได้ว่าท่านได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิชิต ตำแหน่งนายด่านเมืองอุทัยธานี ครั้นเมื่อถึงปลายรัชกาล ที่เหตุระส่ำระสายเกิดจลาจลในพระนคร ท่านได้ลอบส่งคนนำหนังสือแจ้งเหตุภายในพระนครไปถวายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ภายหลังคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ซึ่งกำลังยกกองทัพไปตีเขมร
หลวงสรวิชิต (ในเวลานั้น) ออกไปรับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกถึงทุ่งแสนแสบแล้วบอกข้อราชการต่างๆ จากนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เข้ามาปราบเหตุจลาจลในพระนคร แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
เมื่อเหตุการณ์ในพระนครสงบเรียบร้อย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระยาพิพัฒโกษา และในที่สุดเมื่อตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการทางหัวเมืองชายทะเลทั้งหมด
เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้นอกจากมีความสามารถในเชิงบริหารกิจการบ้านเมือง และเป็นนักรบแล้ว ยังมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นที่ยกย่องว่าเป็นกวีฝีปากเอก มีสำนวนโวหารไพเราะ ทั้งร้อยกรองหลากหลายชนิด และสำนวนร้อยแก้วที่มีสำนวนโวหารไพเราะไม่แพ้กัน
พระเทพโมลี ( กลิ่น )
ประวัติ
(อดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ ๓ )
พระเทพโมลี (กลิ่น) ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ ท่านบรรพชา-อุปสมบท วัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน พระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น หลบภัยข้าศึก ล่องลงมาทางใต้ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัดกลางนา(วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม)กรุงเทพฯต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ เป็นที่พระญาณสังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียน พระกรรมฐานมัชฌิมา แบลลำดับด้วยประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระมหากลิ่น และคณะ ทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐาน ท่าน และคณะซึ่งเป็นเชื้อสายรามัญ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาต พระมหาสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางนา (วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม) ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายรามัญ เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก)
พระเทพโมลี (กลิ่น) ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ ท่านบรรพชา-อุปสมบท วัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน พระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น หลบภัยข้าศึก ล่องลงมาทางใต้ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัดกลางนา(วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม)กรุงเทพฯต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ เป็นที่พระญาณสังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียน พระกรรมฐานมัชฌิมา แบลลำดับด้วยประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระมหากลิ่น และคณะ ทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐาน ท่าน และคณะซึ่งเป็นเชื้อสายรามัญ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาต พระมหาสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางนา (วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม) ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายรามัญ เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก)
5. สำนักวัดถนน นิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์
กัณฑ์ทานกัณฑ์ ประดับด้วยคาถา ๒๐๙ คาถา
เนื้อความเป็นของสำนักวัดถนน จังหวัดอ่างทอง มิได้ระบุชื่อผู้นิพนธ์
กัณฑ์นี้มีจำนวนพระคาถามากที่สุดในจำนวนมหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
เพลงประจำกัณฑ์ คือ เพลง “พระยาโศก”
ประกอบกิริยาโศกสลดรันทดใจของพระบรมวงศานุวงศ์
ที่ พระเวสสันดร ถูกเนรเทศออกจากเมือง
ข้อคิดจากกัณฑ์
พึงยอมเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
กัณฑ์ทานกัณฑ์ ประดับด้วยคาถา ๒๐๙ คาถา
เนื้อความเป็นของสำนักวัดถนน จังหวัดอ่างทอง มิได้ระบุชื่อผู้นิพนธ์
กัณฑ์นี้มีจำนวนพระคาถามากที่สุดในจำนวนมหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
เพลงประจำกัณฑ์ คือ เพลง “พระยาโศก”
ประกอบกิริยาโศกสลดรันทดใจของพระบรมวงศานุวงศ์
ที่ พระเวสสันดร ถูกเนรเทศออกจากเมือง
ข้อคิดจากกัณฑ์
พึงยอมเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
6. สำนักวัดสัขจายนิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ ชูชก
กัณฑ์ชูชก สาระน่ารู้สู่ผู้สดับ
กัณฑ์ชูชกประดับด้วยคาถา ๗๙ คาถา
พระเทพโมลี วัดสังข์กระจาย เป็นผู้นิพนธ์
เพลงประจำกัณฑ์ คือ เพลง “เซ่นเหล้า”
ประกอบกิริยากินอย่างตะกละตะกรามของ ชูชก
ข้อคิดจากกัณฑ์
อย่าฝากของมีค่า ของสำคัญ หรือของหวงแหนไว้กับผู้อื่น
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
ชูชก เป็นตัวอย่างของคนมัธยัสถ์ รู้จักเก็บหอมรอมริบ รักครอบครัว
แต่มีนิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบาย เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ และโมหะ
ติดอยู่ในกาม เข้าลักษณะ “วัวแก่กินหญ้าอ่อน”
นางอมิตตดา เป็นตัวอย่างของลูกที่อยู่ในโอวาท กตัญญูต่อพ่อแม่
เป็นภรรยาที่ดีของสามี แต่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง